วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ต้นหูกระจง

 ต้นหูกระจง  ต้นหูกระจง



หูกระจง หรือ แผ่บารมี (Terminalia ivorensis Chev.) 

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida
อันดับ Myrtales
วงศ์ Combretaceae
สกุล Terminalia
สปีชีส์ T. ivorensis

ต้นหูกระจง มีถิ่นกำเนิดในป่าแอฟริกาตะวันตก แถบเส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่ประเทศกีนี ไปจนถึงประเทศแคเมอรูน เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเพื่อใช้เนื้อไม้ ในแถบถิ่นกำเนิด เป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีอายุยืน

ลักษณะ

เป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงามแตกกิ่งเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 50-100 ซม. แม้หูกระจงเป็นไม้ผลัดใบแต่จะผลัดใบน้อยกว่าหูกวาง โดยปกติเป็นไม้ที่ชอบน้ำเมื่อนำไปปลูกในกระถางหรือลงดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม และสม่ำเสมอใบแทบจะไม่ร่วงเลย และที่ตั้งชื่อว่า หูกระจงเป็นเพราะลักษณะใบคล้ายกับหูกวาง แต่ใบหูกระจงจะมีขนาดเล็กกว่า สำหรับดอกมีสีขาวคล้ายดอกกระถินณรงค์ เมล็ดหูกระจงจะคล้ายกับเมล็ดพุทรา และ ปัจจุบันการขยายพันธุ์ต้นหูกระจงนิยมใช้วิธีเพาะเมล็ดเนื่องจากเจริญเติบโต ได้เร็ว และได้ทรงพุ่มที่สวยงาม



ต้นหูกระจง ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ หูกระจงธรรมดา หูกระจงหนาม และหูกระจงแคระ หูกระจงธรรมดาได้รับความนิยม ซื้อไปปลูกเป็นไม้ประดับมากที่สุด ทั้งๆ ที่หูกระจงหนามมีทรงพุ่มที่สวยกว่า และใบของต้นหูกระจงหนามจะเป็นเงา และแน่นกว่า เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง เหตุผลที่สำคัญที่คนสนใจปลูกต้นหูกระจงหนามไม่มาก เนื่องจากความเชื่อเรื่องหนามที่ไม่เป็นมงคลต่อผู้ปลูก สำหรับหูกระจงแคระ เป็นหูกระจงที่หายากกว่าหูกระจงสายพันธุ์อื่น ราคาก็ยิ่งแพง